เวลาจุ๊บอบเค้กทานที่บ้าน จุ๊บจะชอบอบเค้กเนื้อมาม่อนเพราะคุณพ่อของจุ๊บชอบเค้กเนื้อนิ่มๆ แล้วก็ไม่ทานครีม จุ๊บก็เลยคิดว่าตัวเองค่อนข้างจะเป็นเซียนมากพอสมควรกับการทำเค้กชนิดนี้ แต่ก็กลายเป็นว่าพอจุ๊บไปทำเค้กเนื้ออื่นๆ แล้วบางครั้งกลับไม่ได้เนื้อเค้กอย่างที่ต้องการไปซะอย่างงั้น = =
ล่าสุดนี้จุ๊บอบเค้กสปันจ์ก้อนโตให้หลานสาว พี่ชายจุ๊บก็บอกว่าเนื้อเค้กมันร่วนเกินไป ซึ่งจุ๊บก็แอบแปลกใจนิดๆ เพราะเค้กสปันจ์ที่จุ๊บเคยทำเนื้อมันก็นุ่มดี ตอนนี้ก็สูตรเดิมแต่ทำไมเนื้อร่วน (จริงๆ แล้วจุ๊บก็รู้สึกตั้งแต่ตอนอบเสร็จแล้วแหล่ะว่าขนาดเอาไปแช่ตู้เย็นแล้วนะ ทำไมพอหยิบจับอะไรหน่อยเนื้อเค้กก็หลุดออกมาตามมือ.. คือจุ๊บไม่ใช่คนมือเบานะ แต่ก็ไม่ได้มือหนักขนาดนั้นซะหน่อย T^T
Tip: จุ๊บสังเกตมาหลายครั้งแล้วว่าพอจุ๊บเอาเค้กไปแช่ตู้เย็นแล้วเนื้อเค้กมันจะ ชุ่มฉ่ำขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เนื่องจากเค้กมันจะซึมซับไอน้ำจากความเย็นในตู้เย็นเข้าไป แต่ก่อนที่จะจับเค้กแช่ตู้เย็น เพื่อนๆ ควรจะหุ้มเนื้อเค้กด้วยพลาสติกแรพหรือไม่ก็ใส่กล่องแล้วแง้มฝาไว้นิดนึงด้วยนะคะ เพราะลมที่เป่าออกมาจากช่องระบายความเย็นอาจจะทำให้เนื้อเค้กแห้งมากกว่าเดิมได้ค่ะ
กลับมาเรื่องเนื้อเค้กร่วนกันต่อ ^^" หลังจากที่พี่ชายจุ๊บบอก จุ๊บก็รีบไปสอบถามคุณครูทันที.. คุณครูของจุ๊บเก่งนะคะ ถามอะไรก็ตอบได้ :) คุณครูของจุ๊บชื่อ Google ค่ะ ^^" (จริงๆ คุณครูของจุ๊บไม่ได้ตอบเองหรอกค่ะ แต่คุณครูไปหาคำตอบของคนอื่นมาให้แทน 55 //นอกเรื่องตลอด = =") หลังจากนั่งอ่านไปซักพัก จุ๊บก็รู้ว่าสาเหตุที่ทำให้เนื้อเค้กร่วนนั้นมีหลายอย่างมาก ดังต่อไปนี้
1. ตีส่วนผสมนานเกินไป ใช้ความแรงมากเกินไป
การตีส่วนผสมที่นานเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการตีเนย ตีแป้ง หรือว่าตีไข่ จะทำให้มีอากาศเข้าไปแทรกอยู่ในเนื้อส่วนผสมมาก เป็นผลทำให้เมื่ออบออกมาแล้วเนื้อเค้กจะฟูมากเกินไปและมีโพรงอากาศอยู่ในเนื้อเค้กมาก ทำให้เค้กร่วน และเวลาทานจะรู้สึกว่าเนื้อหยาบ ไม่นุ่ม
2. อุปกรณ์ที่ใช้มีประสิทธิภาพไม่เหมือนกัน
สูตรที่เพื่อนๆ แชร์กันบางสูตรจะระบุไว้เลยว่าตีส่วนผสมนี้กี่นาที พอใส่ส่วนผสมนี้เข้าไปแล้วให้ตีอีกกี่นาที อบกี่นาที แต่จุ๊บลองทำตามแล้วบางครั้งก็ไม่สำเร็จเพราะอุปกรณ์ที่บ้านจุ๊บกับอุปกรณ์ของเจ้าของสูตรมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน อย่างเครื่องตีของจุ๊บก็เป็นตัวเล็ก แต่ตอนที่จุ๊บไปเรียน เครื่องผสมในห้องเรียนเป็นตัวใหญ่ เวลาทำเค้กสปันจ์ อาจารย์จะใส่ไข่ แป้ง นม ไปรวดเดียวแล้วตีรวมกันเลย ซักพักก็ขึ้นฟูดี แต่ของจุ๊บไม่ใช่ค่ะ ตอนทำครั้งแรกจุ๊บใส่ส่วนผสมลงไปเหมือนตอนที่เรียน ปรากฏว่าตีไม่ขึ้นเอาซะเลย ไม่สามารถทำริบบ้อนสเตจได้ อบออกมาก็ได้เค้กเนื้อแน่นๆ หนักๆ หลังจากนั้นจุ๊บก็เลยปรับวิธีการทำ โดยมาตีไข่ให้ฟูก่อน แล้วค่อยๆ ใส่นม ใส่แป้ง แล้วก็ต้องค่อยๆ ใส่ด้วยนะคะ ใส่ไปพรวดเดียวก็ตายสนิทเหมือนกันค่ะ แต่ก็กลายเป็นว่าจุ๊บใช้เวลาในการตีไข่นานมากกว่าที่ควรอีก ซึ่งก็เป็นเหตุให้เค้กร่วนจนต้องมาหาข้อมูลนี่แหล่ะค่ะ
แล้วแค่ไหนถึงจะเหมาะสมล่ะ จุ๊บว่าถ้าเพื่อนๆ ทดลองทำสูตรนั้นเป็นครั้งแรกแล้วเขาระบุเวลามาก็ทำตามนั้นไปก่อนเลยค่ะ แล้วค่อยมาดูว่าเค้กที่ได้ออกมาได้ผลเป็นที่น่าพอใจไหม ถ้าไม่ดีก็ค่อยๆ ปรับกันไปค่ะ
3. อบเค้กนานเกินไป ใช้ความร้อนสูงจนเกินไป
เค้กแต่ละประเภทใช้ความร้อนในการอบไม่เท่ากัน และเวลาที่ใช้ในการอบก็ไม่เท่ากันอีกด้วยนะคะ การที่เค้กของเราโดนความร้อนมากเกินไปจะทำให้ความชื้นที่อยู่ในเนื้อเค้กหายไปมากกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้เค้กของเราแห้งและร่วนได้ค่ะ
อุณหภูมิที่ใช้ในการอบเค้ก ส่วนใหญ่จุ๊บอบที่ 180 องศาเซลเซียส หรือ 350 องศาฟาเรนไฮต์ แต่บางครั้งที่อบอุณหภูมิก็เหวี่ยงๆ ไปบ้างนิดหน่อยก็ไม่เป็นปัญหานะคะ เวลาที่ใช้อบนี่จะขึ้นอยู่กับปริมาณของเค้กที่อบเป็นหลักค่ะ ถ้าพิมพ์เล็กครึ่งปอนด์ หรืออบในถาดสำหรับทำเค้กโรลก็ใช้เวลาไม่มาก 10 – 15 นาทีก็อบสุกแล้ว แต่ถ้าเป็นพิมพ์สามปอนด์ก็ปาเข้าไป 40 – 45 นาทีก็มีค่ะ ประเภทของเค้กที่อบก็เกี่ยวนะคะ อย่างเค้กสปันจ์จะอบสุกเร็วกว่าบัตเตอร์เค้กพอสมควรเลยล่ะค่ะ
Tip: เพื่อนๆ ควรจะหาเทอร์โมมิเตอร์ใส่ไว้ในเตาอบด้วยนะคะ เพราะเตาอบบางเครื่อง อุณหภูมิที่ตั้งที่ตัวเครื่องกับอุณหภูมิในเตาจริงๆ ก็ไม่เท่ากันค่ะ อย่างเครื่องที่บ้านจุ๊บ ตั้งไว้ที่ 190 องศาเซลเซียส แต่ในเตาจะประมาณ 180 องศา โหมดการอบ เช่น การอบไฟบน+ไฟล่าง ไฟล่างอย่างเดียว หรือเปิดพัดลมในเตาด้วย ก็มีผลต่ออุณหภูมิภายในเตานะคะ เครื่องบ้านจุ๊บมีโหมดไฟบนล่างไม่เปิดพัดลม แต่พออบไฟล่างอย่างเดียวจะมีแต่แบบเปิดพัดลม ถ้าตอนแรกอบไฟบนล่าง แล้วปรับมาเป็นไฟล่างอย่างเดียวนี่ความร้อนตกกระจุยเลยค่ะ เค้กตั้งทรงมาสวยๆ ก็ยุบกันไป T^T หลังๆ พอเห็นหน้าเค้กสีเข้มพอดีแต่เค้กยังไม่สุกเลยใช้วิธีตัดฟอยล์มาปิดหน้าเค้กแทน ก็ตัดปัญหาไปได้ค่ะ ^^
4. ในเค้กบางสูตร ในตอนสุดท้ายควรลด speed ในการตีเพื่อตัดฟองอากาศในขั้นตอนสุดท้ายด้วย
ตอนจุ๊บอ่านตอนแรกก็ไม่ทราบเหตุผลหรอกค่ะ เขาบอกให้ทำก็ทำไป เพิ่งจะมาเข้าใจเอาตอนเขียนบล๊อคนี้แหล่ะค่ะ แหะๆ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เค้กของเราอบออกมาแล้วเกิดอาการร่วนที่จุ๊บหามาได้ ถ้าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ มีประสบการณ์การทำเค้กออกมาแล้วร่วน แล้วมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างก็มาแชร์กันได้นะคะ ถ้าจุ๊บอ่านเจอสาเหตุอื่นๆ แล้วก็จะนำมาเพิ่มเติมไว้ด้วยค่ะ :)
สำหรับวันนี้.. ก็ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขในการทำขนมเหมือนเช่นทุกๆ วันนะคะ ^^
Monday, June 30, 2014
Wednesday, June 25, 2014
มือใหม่หัดทำขนม ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
หลายๆ ครั้งที่จุ๊บเข้าไปนั่งอ่านกระทู้ต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตแล้วเห็นคำถามของเพื่อนๆ ว่าอยากจะเริ่มหัดทำคุกกี้หรืออบเค้กซักก้อนต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ก็เลยคิดว่าคงจะเป็นการดีถ้าจุ๊บจะแชร์ประสบการณ์ตอนจุ๊บเริ่มทำขนมใหม่ๆ แบบงูๆ ปลาๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ บ้างนะคะ ^^
อุปกรณ์ต่างๆ ในคลัง(แสง) ของจุ๊บตอนนี้มีอะไรบ้าง อะไรจำเป็น อะไรไม่จำเป็นบ้างในความคิดของจุ๊บ มาดูกันเลยค่ะ
1. เตาอบ
ถ้าจะทำพวกเบเกอรี่ จุ๊บว่าเตาอบเป็นอะไรที่ควรมีนะคะ เห็นหลายๆ คนสามารถใช้หม้อหุงข้าว ฝาอบลมร้อน หรือแม้กระทั่งไมโครเวฟมาทำเค้กกัน (จุ๊บเคยทำ microwave mug cake ทานบ่อยๆ สมัยยังไม่มีเตาอบ สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง ทานแก้อยากได้เป็นอย่างดีเลยล่ะค่ะ คนคิดเก่งมากจริงๆ ^^) แต่การทำแบบนี้มันก็มีข้อจำกัดอยู่เยอะนะคะ ถ้าทำทานเองพอให้หายอยากก็พอได้ แต่ถ้าจะทำจริงๆ จังๆ ซื้อเตาอบดีกว่าค่ะ ไม่ต้องราคาแพงสามสี่หมื่น เอาแบบเล็กๆ ราคาสามสี่พันมาลองดูก่อนก็ได้ แล้วถ้าคิดว่ามันใช่จริงๆ ค่อยขยับขยายเป็นเตาใหญ่แพงๆ ทีหลังก็ได้ค่ะ
สำหรับเตาอบที่จุ๊บใช้อยู่เป็นยี่ห้อชาร์ป ความจุ 42 ลิตรค่ะ เดี๋ยวจุ๊บจะมารีวิวเตาอบในปกครองของจุ๊บให้ดูวันหลังนะคะ ^^
2. เครื่องผสมอาหาร
สำหรับการทำเค้ก ทำคุกกี้ จุ๊บว่าเครื่องผสมอาหาร (หรือที่บางคนเรียกว่าเครื่องตีไข่) เป็นอุปกรณ์ที่.. ไม่มีก็ได้ แต่มีก็จะช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้นมากเลยล่ะค่ะ คุกกี้บางสูตร หรือเค้กบางชนิด หรือบราวนี่ ไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าเครื่องผสมอาหารนี้เลย เราสามารถใช้ตะกร้อมือในการทำได้ แต่ถ้าเป็นพวกเค้กสปันจ์หรือชิฟฟ่อนที่มีการตีไข่แดงให้ฟู มีการตีไข่ขาวให้ตั้งยอด ถ้าเราใช้ตะกร้อมือทำก็ทำได้นะคะ แต่ต้องใช้เวลา และที่สำคัญ.. ใช้แรง อย่างมากเลยล่ะค่ะ ตีเสร็จแขนล้า วันรุ่งขื้นปวดแขนอีก ^^" จะพาลเบื่อ ไม่อยากทำเค้กกันซะก่อน ดังนั้นถ้าพอจะหางบเพิ่มได้ซักพันกว่าๆ สองพัน ก็หาเครื่องผสมอาหารเล็กๆ มาใช้เถอะค่ะ
เครื่องผสมอาหารที่จุ๊บใช้อยู่ตอนนี้ก็เป็นรุ่นยอดนิยมที่ใครๆ แนะนำกันแหล่ะค่ะ.. OTTO HM-273 ตัวเล็กๆ แต่ทำงานได้ดีเลยทีเดียว สปันจ์ ชิฟฟ่อน มาม่อน ผ่านโถนี้มาแล้วทั้งนั้น อนาคตจุ๊บคิดว่าจะขยับขยายไปเป็นเครื่องตีรุ่นพี่อย่าง KitchenAid อยู่เหมือนกัน แต่คงต้องเก็บเงินไปซักพักก่อนล่ะค่ะ ^^"
3. ตาชั่ง
ตาชั่งเป็นสิ่งที่จุ๊บคิดว่ามีความจำเป็นอย่างมากในการทำขนมเลยล่ะค่ะ เพราะ ถึงแม้ว่าบางสูตรจะบอกมาเป็นถ้วยตวง หรือช้อนชา ช้อนโต๊ะ แต่ส่วนใหญ่สูตรก็มักจะบอกเป็นน้ำหนัก แล้วจุ๊บก็คิดว่าการชั่งน้ำหนักส่วนผสมก็ได้ปริมาณส่วนผสมที่แน่นอนกว่าการใช้ถ้วยตวงด้วยค่ะ
ตาชั่งจะมีทั้งแบบดิจิตอลและแบบเข็ม ถ้าอยากได้แบบดูง่าย แม่นยำ ใช้สะดวก ไม่เกี่ยงราคาก็ดิจิตอล แต่ไม่ได้แปลว่าแบบเข็มจะไม่ดีนะคะ จริงๆ เรื่องการใช้งานจุ๊บว่าแล้วแต่คนชอบ แรกๆ อาจจะเก้ๆ กังๆ แต่ทำๆ ไปเดี๋ยวก็ถนัดไปเอง แถมราคาแบบเข็มก็ถูกกว่าอยู่พอสมควรเลยล่ะค่ะ
4. ตะแกรงร่อนแป้ง
ตะแกรงร่อนแป้งนี่สำคัญเลยค่ะ ควรซื้อเป็นอย่างยิ่ง เพราะการร่อนแป้งก่อนทำขนม นอกจากจะทำให้ขนมเราเบา ฟูแล้ว ยังช่วยร่อนเอาสิ่งต่างๆ ที่อาจจะปนมาในแป้งออกไปอีกด้วยค่ะ
ขอเม้าท์ เพื่อนจุ๊บเคยร่อนแป้งแล้วเจอหนอนในแป้งด้วยล่ะ ส่วนตัวจุ๊บเองเคยร่อนเจอมด >< บางทีก็เจอแป้งเป็นเม็ดๆ อาจจะเป็นเพราะร้านเก็บไม่ดีเลยโดนความชื้น หรืออาจจะเป็นที่ล๊อตสินค้านั้นก็ได้ เพราะที่ถุงก็ไม่มีรอยเจาะ ไม่รู้เจ้าหนอน เจ้ามดมันเข้าไปอยู่ในถุงได้ยังไง
5. ช้อนตวง ถ้วยตวงของแห้ง ถ้วยตวงของเหลว
คงไม่ต้องอธิบายอะไรสำหรับอุปกรณ์เหล่านี้เนอะ ^^ จำเป็นต้องมีค่ะ ซื้อโลด
อ้อ มีนิดนึง ช้อนตวงควรเลือกซื้อที่เป็นอลูมิเนียม ส่วนถ้วยตวงของเหลว ถ้าซื้อแบบที่เป็นแก้วได้ก็ซื้อนะคะ เพราะส่วนผสมบางอย่างเป็นกรดหรือต้องผสมตอนที่ร้อนๆ ถ้าใช้แบบที่เป็นพลาสติกอาจจะละลายได้ค่ะ (เคยมาแล้วเหมือนกันค่ะ ตวงกลิ่นส้มแล้วช้อนตวงละลาย ><)
6. ถาดรองอบ พิมพ์เค้ก
ปกติแล้วเวลาซื้อเตาอบเขาจะมีถาดสีดำๆ แถมมาให้กับเตาอบใช่ไหมคะ แต่เพื่อนๆ รู้ไหมคะว่าเจ้าถาดสีดำนี้มันส่งผ่านความร้อนได้ดีมากเลยล่ะค่ะ มากเกินไปจนทำให้คุกกี้ไหม้เลยทีเดียว >< ตอนแรกจุ๊บก็ไม่ทราบหรอกค่ะ เห็นเขามีถาดมาให้ก็ดีใจว่าไม่ต้องซื้อเพิ่ม แต่พอทำออกมาแล้ว.. ทำคุกกี้ ก้นคุกกี้ก็เกรียม ทำคัพเค้ก ก้นถ้วยก็ไหม้ สุดท้ายก็ต้องวิ่งไปซื้อมา ดังนั้นถาดรองอบนี่เป็นอะไรที่ควรมีค่ะ จะเป็นถาดสีเงินๆ ธรรมดาก็ได้ หรือถาดเทฟล่อนที่ราคาแพงขึ้นมาหน่อยก็ได้ แล้วก็ปูกระดาษรองอบนิดนึง พอคุกกี้สุกจะได้เอาออกง่ายๆ ไม่ต้องแซะถาดให้เป็นรอย ไม่ต้องคอยทาเนยที่ถาดค่ะ
ส่วนพิมพ์เค้ก อันนี้ถ้าจะทำเค้กก็ต้องมีแน่นอนค่ะ พิมพ์เค้กมีหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ครึ่งปอนด์ หนึ่งปอนด์ สองปอนด์ สามปอนด์ พิมพ์ถอดก้น พิมพ์ล๊อกข้าง ก็เลือกกันได้ตามประเภทเค้กที่เพื่อนๆ จะทำนะคะ แล้วก็ยังมีพิมพ์รูปทรงต่างๆ เช่น พิมพ์รูปหัวใจ พิมพ์รูปตุ๊กตุ่นตุ๊กตา พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมสำหรับทำบราวนี่ แล้วก็อย่าลืมซื้อกระดาษรองอบด้วยนะคะ ไม่งั้นเค้กจะติดพิมพ์ คว่ำไม่ออก หรือถ้าไม่อยากมาตัดกระดาษตามพิมพ์จะใช้เป็นสเปรย์ออยก็ได้ค่ะ อ้อ แล้วก็สำหรับคนที่จะทำคัพเค้กหรือมัฟฟิ่น อย่าลืมซื้อถาดหลุมหรือถ้วยจีบนะคะ ถ้าทำพาย ก็จะมีถาดพายอีกค่ะ
7. ตะแกรง
ตะแกรงก็เป็นอีกอย่างที่จำเป็นในการทำขนมค่ะ จุ๊บมีตะแกรงใหญ่ที่เอาไว้ผึ่งเค้ก ผึ่งคุกกี้สองอัน ไม่งั้นก้นเค้กก้นคุกกี้จะแฉะ แล้วก็ตะแกรงเล็ก ขนาดประมาณเค้ก 2 ปอนด์ เอาไว้เวลาทำเค้กส้มหรือเค้กชอคโกแลตหน้านิ่ม เวลาตักหน้าราดไปบนเค้ก หน้าที่เหลือจะได้ไม่ไปกองอยู่รอบๆ เค้ก เพิ่มความสะดวกค่ะ
8. อุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างการทำขนม
เช่น ตะกร้อมือ โถผสม (ควรมีโถใหญ่ๆ เอาไว้ผสมซักสองโถ กับแบบที่เล็กลงมาหน่อย เอาไว้เตรียมส่วนผสม แบบเล็กนี่จุ๊บยกโหลมาเลยค่ะ บางครั้งส่วนผสมเยอะ เตรียมทีใช้เจ็ดแปดถ้วยเลยล่ะค่ะ) พายยาง (ตอนจุ๊บไปเรียนอาจารย์เคยสอนไว้ว่า ให้เลือกพายที่สามารถโค้งงอได้ เพราะเวลาเราปาดโถ ตัวพายจะได้โค้งตามโถไปค่ะ จะเป็นพายพลาสติก หรือพายซิลิโคนก็ได้ แล้วแต่กำลังทรัพย์ค่ะ ซื้อมาซักสองสามอันขนาดต่างๆ กัน จะได้ไม่คอยไปล้างระหว่างทำ) ถ้าใครจะทำเค้ก ก็ควรหาสปาตูล่า มีดฟันเลื่อย เตรียมไว้ด้วยนะคะ
9. อุปกรณ์อื่นๆ
สุดท้ายก็เป็นอุปกรณ์อื่นๆ ที่จุ๊บว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่ แต่มีก็จะเพิ่มความสะดวกสบายในการทำขนมให้เราค่ะ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ ไม้คลึงแป้ง แปรงปัดเศษเค้ก ที่แยกไข่ ทัพพีสำหรับหยอดแป้ง ที่สไลด์เค้ก ที่แบ่งเค้ก อ้อ แต่ถ้าใครจะทำเค้กครีมก็อย่าลืมซื้อแท่นหมุนสำหรับแต่งเค้ก หัวบีบ ถุงบีบด้วยนะคะ ^^
หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะพอเป็นแนวทางสำหรับเพื่อนๆ ในการตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับทำขนมได้นะคะ เพื่อนๆ อาจจะไม่ต้องซื้อทุกอย่างทีเดียวก็ได้ ตอนจุ๊บเริ่มต้นก็ไม่ได้ซื้อหมดค่ะ จุ๊บเริ่มที่คุกกี้ จุ๊บก็ไปดูว่าคุกกี้ที่จะทำต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง แล้วก็จดๆ ไว้แล้วก็ไปซื้อค่ะ แนะนำอีกอย่างว่าไปซื้อตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่จะถูกว่าซื้อในห้างนะคะ อย่างพิมพ์เค้กขนาด 1 - 2 ปอนด์ ตามร้านขายประมาณ 40 – 60 บาท แต่ในห้างขายหลักร้อยเลยล่ะค่ะ
เริ่มยาวแล้วเนอะ จบดีกว่า ขอให้มีความสุขในการทำขนมค่ะ ^^
อุปกรณ์ต่างๆ ในคลัง(แสง) ของจุ๊บตอนนี้มีอะไรบ้าง อะไรจำเป็น อะไรไม่จำเป็นบ้างในความคิดของจุ๊บ มาดูกันเลยค่ะ
1. เตาอบ
ถ้าจะทำพวกเบเกอรี่ จุ๊บว่าเตาอบเป็นอะไรที่ควรมีนะคะ เห็นหลายๆ คนสามารถใช้หม้อหุงข้าว ฝาอบลมร้อน หรือแม้กระทั่งไมโครเวฟมาทำเค้กกัน (จุ๊บเคยทำ microwave mug cake ทานบ่อยๆ สมัยยังไม่มีเตาอบ สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง ทานแก้อยากได้เป็นอย่างดีเลยล่ะค่ะ คนคิดเก่งมากจริงๆ ^^) แต่การทำแบบนี้มันก็มีข้อจำกัดอยู่เยอะนะคะ ถ้าทำทานเองพอให้หายอยากก็พอได้ แต่ถ้าจะทำจริงๆ จังๆ ซื้อเตาอบดีกว่าค่ะ ไม่ต้องราคาแพงสามสี่หมื่น เอาแบบเล็กๆ ราคาสามสี่พันมาลองดูก่อนก็ได้ แล้วถ้าคิดว่ามันใช่จริงๆ ค่อยขยับขยายเป็นเตาใหญ่แพงๆ ทีหลังก็ได้ค่ะ
สำหรับเตาอบที่จุ๊บใช้อยู่เป็นยี่ห้อชาร์ป ความจุ 42 ลิตรค่ะ เดี๋ยวจุ๊บจะมารีวิวเตาอบในปกครองของจุ๊บให้ดูวันหลังนะคะ ^^
2. เครื่องผสมอาหาร
สำหรับการทำเค้ก ทำคุกกี้ จุ๊บว่าเครื่องผสมอาหาร (หรือที่บางคนเรียกว่าเครื่องตีไข่) เป็นอุปกรณ์ที่.. ไม่มีก็ได้ แต่มีก็จะช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้นมากเลยล่ะค่ะ คุกกี้บางสูตร หรือเค้กบางชนิด หรือบราวนี่ ไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าเครื่องผสมอาหารนี้เลย เราสามารถใช้ตะกร้อมือในการทำได้ แต่ถ้าเป็นพวกเค้กสปันจ์หรือชิฟฟ่อนที่มีการตีไข่แดงให้ฟู มีการตีไข่ขาวให้ตั้งยอด ถ้าเราใช้ตะกร้อมือทำก็ทำได้นะคะ แต่ต้องใช้เวลา และที่สำคัญ.. ใช้แรง อย่างมากเลยล่ะค่ะ ตีเสร็จแขนล้า วันรุ่งขื้นปวดแขนอีก ^^" จะพาลเบื่อ ไม่อยากทำเค้กกันซะก่อน ดังนั้นถ้าพอจะหางบเพิ่มได้ซักพันกว่าๆ สองพัน ก็หาเครื่องผสมอาหารเล็กๆ มาใช้เถอะค่ะ
เครื่องผสมอาหารที่จุ๊บใช้อยู่ตอนนี้ก็เป็นรุ่นยอดนิยมที่ใครๆ แนะนำกันแหล่ะค่ะ.. OTTO HM-273 ตัวเล็กๆ แต่ทำงานได้ดีเลยทีเดียว สปันจ์ ชิฟฟ่อน มาม่อน ผ่านโถนี้มาแล้วทั้งนั้น อนาคตจุ๊บคิดว่าจะขยับขยายไปเป็นเครื่องตีรุ่นพี่อย่าง KitchenAid อยู่เหมือนกัน แต่คงต้องเก็บเงินไปซักพักก่อนล่ะค่ะ ^^"
3. ตาชั่ง
ตาชั่งเป็นสิ่งที่จุ๊บคิดว่ามีความจำเป็นอย่างมากในการทำขนมเลยล่ะค่ะ เพราะ ถึงแม้ว่าบางสูตรจะบอกมาเป็นถ้วยตวง หรือช้อนชา ช้อนโต๊ะ แต่ส่วนใหญ่สูตรก็มักจะบอกเป็นน้ำหนัก แล้วจุ๊บก็คิดว่าการชั่งน้ำหนักส่วนผสมก็ได้ปริมาณส่วนผสมที่แน่นอนกว่าการใช้ถ้วยตวงด้วยค่ะ
ตาชั่งจะมีทั้งแบบดิจิตอลและแบบเข็ม ถ้าอยากได้แบบดูง่าย แม่นยำ ใช้สะดวก ไม่เกี่ยงราคาก็ดิจิตอล แต่ไม่ได้แปลว่าแบบเข็มจะไม่ดีนะคะ จริงๆ เรื่องการใช้งานจุ๊บว่าแล้วแต่คนชอบ แรกๆ อาจจะเก้ๆ กังๆ แต่ทำๆ ไปเดี๋ยวก็ถนัดไปเอง แถมราคาแบบเข็มก็ถูกกว่าอยู่พอสมควรเลยล่ะค่ะ
4. ตะแกรงร่อนแป้ง
ตะแกรงร่อนแป้งนี่สำคัญเลยค่ะ ควรซื้อเป็นอย่างยิ่ง เพราะการร่อนแป้งก่อนทำขนม นอกจากจะทำให้ขนมเราเบา ฟูแล้ว ยังช่วยร่อนเอาสิ่งต่างๆ ที่อาจจะปนมาในแป้งออกไปอีกด้วยค่ะ
ขอเม้าท์ เพื่อนจุ๊บเคยร่อนแป้งแล้วเจอหนอนในแป้งด้วยล่ะ ส่วนตัวจุ๊บเองเคยร่อนเจอมด >< บางทีก็เจอแป้งเป็นเม็ดๆ อาจจะเป็นเพราะร้านเก็บไม่ดีเลยโดนความชื้น หรืออาจจะเป็นที่ล๊อตสินค้านั้นก็ได้ เพราะที่ถุงก็ไม่มีรอยเจาะ ไม่รู้เจ้าหนอน เจ้ามดมันเข้าไปอยู่ในถุงได้ยังไง
5. ช้อนตวง ถ้วยตวงของแห้ง ถ้วยตวงของเหลว
คงไม่ต้องอธิบายอะไรสำหรับอุปกรณ์เหล่านี้เนอะ ^^ จำเป็นต้องมีค่ะ ซื้อโลด
อ้อ มีนิดนึง ช้อนตวงควรเลือกซื้อที่เป็นอลูมิเนียม ส่วนถ้วยตวงของเหลว ถ้าซื้อแบบที่เป็นแก้วได้ก็ซื้อนะคะ เพราะส่วนผสมบางอย่างเป็นกรดหรือต้องผสมตอนที่ร้อนๆ ถ้าใช้แบบที่เป็นพลาสติกอาจจะละลายได้ค่ะ (เคยมาแล้วเหมือนกันค่ะ ตวงกลิ่นส้มแล้วช้อนตวงละลาย ><)
6. ถาดรองอบ พิมพ์เค้ก
ปกติแล้วเวลาซื้อเตาอบเขาจะมีถาดสีดำๆ แถมมาให้กับเตาอบใช่ไหมคะ แต่เพื่อนๆ รู้ไหมคะว่าเจ้าถาดสีดำนี้มันส่งผ่านความร้อนได้ดีมากเลยล่ะค่ะ มากเกินไปจนทำให้คุกกี้ไหม้เลยทีเดียว >< ตอนแรกจุ๊บก็ไม่ทราบหรอกค่ะ เห็นเขามีถาดมาให้ก็ดีใจว่าไม่ต้องซื้อเพิ่ม แต่พอทำออกมาแล้ว.. ทำคุกกี้ ก้นคุกกี้ก็เกรียม ทำคัพเค้ก ก้นถ้วยก็ไหม้ สุดท้ายก็ต้องวิ่งไปซื้อมา ดังนั้นถาดรองอบนี่เป็นอะไรที่ควรมีค่ะ จะเป็นถาดสีเงินๆ ธรรมดาก็ได้ หรือถาดเทฟล่อนที่ราคาแพงขึ้นมาหน่อยก็ได้ แล้วก็ปูกระดาษรองอบนิดนึง พอคุกกี้สุกจะได้เอาออกง่ายๆ ไม่ต้องแซะถาดให้เป็นรอย ไม่ต้องคอยทาเนยที่ถาดค่ะ
ส่วนพิมพ์เค้ก อันนี้ถ้าจะทำเค้กก็ต้องมีแน่นอนค่ะ พิมพ์เค้กมีหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ครึ่งปอนด์ หนึ่งปอนด์ สองปอนด์ สามปอนด์ พิมพ์ถอดก้น พิมพ์ล๊อกข้าง ก็เลือกกันได้ตามประเภทเค้กที่เพื่อนๆ จะทำนะคะ แล้วก็ยังมีพิมพ์รูปทรงต่างๆ เช่น พิมพ์รูปหัวใจ พิมพ์รูปตุ๊กตุ่นตุ๊กตา พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมสำหรับทำบราวนี่ แล้วก็อย่าลืมซื้อกระดาษรองอบด้วยนะคะ ไม่งั้นเค้กจะติดพิมพ์ คว่ำไม่ออก หรือถ้าไม่อยากมาตัดกระดาษตามพิมพ์จะใช้เป็นสเปรย์ออยก็ได้ค่ะ อ้อ แล้วก็สำหรับคนที่จะทำคัพเค้กหรือมัฟฟิ่น อย่าลืมซื้อถาดหลุมหรือถ้วยจีบนะคะ ถ้าทำพาย ก็จะมีถาดพายอีกค่ะ
7. ตะแกรง
ตะแกรงก็เป็นอีกอย่างที่จำเป็นในการทำขนมค่ะ จุ๊บมีตะแกรงใหญ่ที่เอาไว้ผึ่งเค้ก ผึ่งคุกกี้สองอัน ไม่งั้นก้นเค้กก้นคุกกี้จะแฉะ แล้วก็ตะแกรงเล็ก ขนาดประมาณเค้ก 2 ปอนด์ เอาไว้เวลาทำเค้กส้มหรือเค้กชอคโกแลตหน้านิ่ม เวลาตักหน้าราดไปบนเค้ก หน้าที่เหลือจะได้ไม่ไปกองอยู่รอบๆ เค้ก เพิ่มความสะดวกค่ะ
8. อุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างการทำขนม
เช่น ตะกร้อมือ โถผสม (ควรมีโถใหญ่ๆ เอาไว้ผสมซักสองโถ กับแบบที่เล็กลงมาหน่อย เอาไว้เตรียมส่วนผสม แบบเล็กนี่จุ๊บยกโหลมาเลยค่ะ บางครั้งส่วนผสมเยอะ เตรียมทีใช้เจ็ดแปดถ้วยเลยล่ะค่ะ) พายยาง (ตอนจุ๊บไปเรียนอาจารย์เคยสอนไว้ว่า ให้เลือกพายที่สามารถโค้งงอได้ เพราะเวลาเราปาดโถ ตัวพายจะได้โค้งตามโถไปค่ะ จะเป็นพายพลาสติก หรือพายซิลิโคนก็ได้ แล้วแต่กำลังทรัพย์ค่ะ ซื้อมาซักสองสามอันขนาดต่างๆ กัน จะได้ไม่คอยไปล้างระหว่างทำ) ถ้าใครจะทำเค้ก ก็ควรหาสปาตูล่า มีดฟันเลื่อย เตรียมไว้ด้วยนะคะ
9. อุปกรณ์อื่นๆ
สุดท้ายก็เป็นอุปกรณ์อื่นๆ ที่จุ๊บว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่ แต่มีก็จะเพิ่มความสะดวกสบายในการทำขนมให้เราค่ะ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ ไม้คลึงแป้ง แปรงปัดเศษเค้ก ที่แยกไข่ ทัพพีสำหรับหยอดแป้ง ที่สไลด์เค้ก ที่แบ่งเค้ก อ้อ แต่ถ้าใครจะทำเค้กครีมก็อย่าลืมซื้อแท่นหมุนสำหรับแต่งเค้ก หัวบีบ ถุงบีบด้วยนะคะ ^^
หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะพอเป็นแนวทางสำหรับเพื่อนๆ ในการตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับทำขนมได้นะคะ เพื่อนๆ อาจจะไม่ต้องซื้อทุกอย่างทีเดียวก็ได้ ตอนจุ๊บเริ่มต้นก็ไม่ได้ซื้อหมดค่ะ จุ๊บเริ่มที่คุกกี้ จุ๊บก็ไปดูว่าคุกกี้ที่จะทำต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง แล้วก็จดๆ ไว้แล้วก็ไปซื้อค่ะ แนะนำอีกอย่างว่าไปซื้อตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่จะถูกว่าซื้อในห้างนะคะ อย่างพิมพ์เค้กขนาด 1 - 2 ปอนด์ ตามร้านขายประมาณ 40 – 60 บาท แต่ในห้างขายหลักร้อยเลยล่ะค่ะ
เริ่มยาวแล้วเนอะ จบดีกว่า ขอให้มีความสุขในการทำขนมค่ะ ^^
Tuesday, June 24, 2014
แป้ง 1 ถ้วยตวงเท่ากับกี่กรัมล่ะนี่...
บ่อยครั้งที่จุ๊บนั่งหาสูตรเค้กที่มีคนแชร์ไว้ในอินเตอร์เน็ตแล้วพบว่าสูตรที่มีคนให้ไว้มีหน่วยเป็นถ้วยตวงแต่บางสูตรกลับให้ไว้เป็นกรัม..
จริงๆ แล้วการตวงส่วนผสมเป็นถ้วยตวงดูจะง่ายกว่าการต้องมานั่งชั่งทุกอย่างทีละครั้ง แต่ไม่รู้เป็นเพราะอะไรเหมือนกัน จุ๊บกลับชอบชั่งส่วนผสมบางอย่าง เช่น แป้ง น้ำตาล หรือเนย มากกว่าจะใช้ช้อนตวงตัก (อาจจะเพราะว่าเวลาชั่ง เราก็แค่จับมันชั่งน้ำหนัก ไม่ต้องมาดูว่านี่คือถ้วยตวงขนาด 1 ถ้วยนะ นี่คือช้อนตวงสำหรับ 1 ช้อนโต๊ะนะ.. ละมั้ง ^^") เว้นแต่ส่วนผสมที่เราใช้แค่จำนวนน้อยๆ เช่น 1 ช้อนชา หรือครึ่งช้อนชา พวกนี้จุ๊บก็จะยังใช้ช้อนตวงตักอยู่เหมือนเดิมแหล่ะค่ะ
ด้วยเหตุนี้ พอจะจดสูตรที่เป็นถ้วยตวง จุ๊บก็จะแปลงเป็นหน่วยกรัมก่อนทุกครั้งเลยค่ะ วันนี้จุ๊บก็เลยนำมาตราส่วนการแปลงวัตถุดิบที่ใช้กันบ่อยๆ ที่จุ๊บรวบรวมไว้จากแหล่งต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ :) ขอบคุณผู้ที่แปลงไว้มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
แป้ง
แป้งขนมปัง 1 ถ้วย = 110 กรัม
แป้งอเนกประสงค์ 1 ถ้วย = 95 กรัม
แป้งเค้ก / แป้งสาลีชนิดพิเศษ 1 ถ้วย = 90 กรัม
แป้ง Whole Wheat 1 ถ้วย = 70 กรัม
แป้งข้าวโพด 1 ถ้วย = 100 กรัม
น้ำตาล
น้ำตาลทราย 1 ถ้วย = 185 กรัม
น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วย = 180 กรัม
น้ำตาลไอซิ่ง 1 ถ้วย = 100 กรัม
เนย / ไขมัน
เนยสด / มาการีน 1 ถ้วย = 200 กรัม
เนยขาว 1 ถ้วย = 185 กรัม
เนยถั่ว (Peanut Butter) 1 ถ้วย = 240 กรัม
น้ำมันพืช 1 ถ้วย = 200 กรัม
ผลไม้
ลูกเกด 1 ถ้วยตวง = 140 กรัม
ผลไม้แช่อิ่มสับละเอียด 1 ถ้วยตวง = 150 กรัม
เชอรี่แช่อิ่ม 1 ถ้วยตวง = 180 กรัม
สับปะรดกวน 1 ถ้วยตวง = 280 กรัม
แยมสตรอเบอร์รี่ / แยมผิวส้ม 1 ถ้วยตวง = 260 กรัม
กล้วยหอมบด 1 ถ้วยตวง = 200 กรัม
ถั่ว
เม็ดมะม่วงหิมพานต์สับละเอียด 1 ถ้วย = 115 กรัม
อัลมอนด์สับละเอียด 1 ถ้วย = 115 กรัม
อัลมอนด์หั่นชิ้นบาง 1 ถ้วย = 100 กรัม
อื่นๆ
ชอคโกแลต 1 ถ้วยตวง = 200 กรัม
น้ำผึ้ง 1 ถ้วยตวง = 300 กรัม
ครีมข้น 1 ถ้วยตวง = 225 กรัม
วิปปิ้งครีม 1 ถ้วยตวง = 200 กรัม
ยีสต์แห้ง 1 ช้อนโต๊ะ = 7 กรัม
เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ = 10 กรัม
ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ = 8 กรัม
ครีมออฟทาทาร์ 1 ช้อนโต๊ะ = 7 กรัม
ผงโกโก้ 1 ถ้วย = 65 กรัม
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ = 10 กรัม
ส่วนผสมหลักๆ ที่เราใช้ทำขนมกันก็มีประมาณนี้แหล่ะมั้งคะ ^^" ถ้ามีใครอยากทราบมาตราส่วนของวัตถุดิบชนิดไหนเพิ่มเติมก็สามารถทิ้งคำถามไว้ได้เลยนะคะ แล้วจุ๊บจะพยายามหาคำตอบมาให้ค่ะ ^^
จริงๆ แล้วการตวงส่วนผสมเป็นถ้วยตวงดูจะง่ายกว่าการต้องมานั่งชั่งทุกอย่างทีละครั้ง แต่ไม่รู้เป็นเพราะอะไรเหมือนกัน จุ๊บกลับชอบชั่งส่วนผสมบางอย่าง เช่น แป้ง น้ำตาล หรือเนย มากกว่าจะใช้ช้อนตวงตัก (อาจจะเพราะว่าเวลาชั่ง เราก็แค่จับมันชั่งน้ำหนัก ไม่ต้องมาดูว่านี่คือถ้วยตวงขนาด 1 ถ้วยนะ นี่คือช้อนตวงสำหรับ 1 ช้อนโต๊ะนะ.. ละมั้ง ^^") เว้นแต่ส่วนผสมที่เราใช้แค่จำนวนน้อยๆ เช่น 1 ช้อนชา หรือครึ่งช้อนชา พวกนี้จุ๊บก็จะยังใช้ช้อนตวงตักอยู่เหมือนเดิมแหล่ะค่ะ
ด้วยเหตุนี้ พอจะจดสูตรที่เป็นถ้วยตวง จุ๊บก็จะแปลงเป็นหน่วยกรัมก่อนทุกครั้งเลยค่ะ วันนี้จุ๊บก็เลยนำมาตราส่วนการแปลงวัตถุดิบที่ใช้กันบ่อยๆ ที่จุ๊บรวบรวมไว้จากแหล่งต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ :) ขอบคุณผู้ที่แปลงไว้มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
แป้ง
แป้งขนมปัง 1 ถ้วย = 110 กรัม
แป้งอเนกประสงค์ 1 ถ้วย = 95 กรัม
แป้งเค้ก / แป้งสาลีชนิดพิเศษ 1 ถ้วย = 90 กรัม
แป้ง Whole Wheat 1 ถ้วย = 70 กรัม
แป้งข้าวโพด 1 ถ้วย = 100 กรัม
น้ำตาล
น้ำตาลทราย 1 ถ้วย = 185 กรัม
น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วย = 180 กรัม
น้ำตาลไอซิ่ง 1 ถ้วย = 100 กรัม
เนย / ไขมัน
เนยสด / มาการีน 1 ถ้วย = 200 กรัม
เนยขาว 1 ถ้วย = 185 กรัม
เนยถั่ว (Peanut Butter) 1 ถ้วย = 240 กรัม
น้ำมันพืช 1 ถ้วย = 200 กรัม
ผลไม้
ลูกเกด 1 ถ้วยตวง = 140 กรัม
ผลไม้แช่อิ่มสับละเอียด 1 ถ้วยตวง = 150 กรัม
เชอรี่แช่อิ่ม 1 ถ้วยตวง = 180 กรัม
สับปะรดกวน 1 ถ้วยตวง = 280 กรัม
แยมสตรอเบอร์รี่ / แยมผิวส้ม 1 ถ้วยตวง = 260 กรัม
กล้วยหอมบด 1 ถ้วยตวง = 200 กรัม
ถั่ว
เม็ดมะม่วงหิมพานต์สับละเอียด 1 ถ้วย = 115 กรัม
อัลมอนด์สับละเอียด 1 ถ้วย = 115 กรัม
อัลมอนด์หั่นชิ้นบาง 1 ถ้วย = 100 กรัม
อื่นๆ
ชอคโกแลต 1 ถ้วยตวง = 200 กรัม
น้ำผึ้ง 1 ถ้วยตวง = 300 กรัม
ครีมข้น 1 ถ้วยตวง = 225 กรัม
วิปปิ้งครีม 1 ถ้วยตวง = 200 กรัม
ยีสต์แห้ง 1 ช้อนโต๊ะ = 7 กรัม
เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ = 10 กรัม
ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ = 8 กรัม
ครีมออฟทาทาร์ 1 ช้อนโต๊ะ = 7 กรัม
ผงโกโก้ 1 ถ้วย = 65 กรัม
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ = 10 กรัม
ส่วนผสมหลักๆ ที่เราใช้ทำขนมกันก็มีประมาณนี้แหล่ะมั้งคะ ^^" ถ้ามีใครอยากทราบมาตราส่วนของวัตถุดิบชนิดไหนเพิ่มเติมก็สามารถทิ้งคำถามไว้ได้เลยนะคะ แล้วจุ๊บจะพยายามหาคำตอบมาให้ค่ะ ^^
Friday, June 20, 2014
แป้งสาลีที่ใช้ในการทำขนมมีกี่แบบกันนะ
เอ๋... แป้งพัดโบกนี่คืออะไร.. แล้วแป้งบัวแดงคืออะไรเนี่ย อ้าว แล้วทำไมสูตรนี้บอกแป้งเค้ก สูตรนั้นบอกแป้งสาลีล่ะ งงแฮะ.. ที่ร้านแป้งว่าวหมด ใช้แป้งอื่นได้ไหมเนี่ย.. T^T
...คิดว่าคนที่เพิ่งหัดทำขนมใหม่ๆ คงเกิดอาการนี้กันบ้างใช่ไหมคะ จุ๊บก็เป็นค่ะ แต่ของจุ๊บอาจจะงงน้อยกว่านิ๊ดดดดดนึง เพราะตอนจุ๊บเริ่มทำขนมใหม่ๆ จุ๊บไปเรียนที่ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครก่อนค่ะ ตอนนั้นอาจารย์บอกให้จดสูตรก็บอกมาเลยว่า เอาแป้งพัดโบกนะ แป้งบัวแดงนะ จุ๊บก็ไปซื้อตามนั้น แต่พอเรียนจบ ออกมาทำขนมเอง เปิดสูตรเอง ทีนี้ก็เลยงงของจริงเลยค่ะ ก็ในสูตรเล่นบอกมาเป็นแป้งสาลี พอไปที่ร้าน ร้านถามว่าเอาแป้งชนิดไหน งงค่ะ ตอบไม่ได้ จนร้านต้องถามว่าเอาไปทำอะไรถึงจะได้แป้งที่ต้องการมา พอกลับบ้านมาเลยต้องกลับมาเพิ่มความรู้ซะหน่อย เวลาไปที่ร้านจะได้ดูเหมือนแม่ค้ามืออาชีพ.. เนอะ ^^” ด้วยเหตุนี้ วันนี้จุ๊บก็เลยนำความรู้เกี่ยวกับแป้งสาลีประเภทต่างๆ ที่ใช้ในการทำขนมมาฝากค่ะ :)
แป้งสาลีสำหรับทำเบเกอรี่ต่างๆ จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามปริมาณโปรตีนในตัวแป้งนะคะ ซึ่งได้แก่ แป้งขนมปัง แป้งสาลีอเนกประสงค์ แล้วก็แป้งเค้ก แต่ในที่นี้จุ๊บขอแบ่งแป้งเค้กย่อยออกไปอีก เป็นแป้งสาลีชนิดพิเศษกับแป้งเค้กนะคะ จริงๆ แล้วแป้งสาลีชนิดพิเศษก็เป็นแป้งเค้กนั่นแหล่ะค่ะเพราะมีปริมาณโปรตีนในแป้งเท่ากัน แต่ด้วยคุณสมบัติที่ต่างกันของมันทำให้เรานำไปทำขนมต่างชนิดกันค่ะ
1. แป้งขนมปัง
แป้งขนมปังเป็นแป้งที่มีปริมาณโปรตีนมากที่สุดในบรรดาแป้งที่เรานิยมใช้ทำขนมกัน คือมีโปรตีนอยู่ 13.5% – 14% เนื้อแป้งจะมีสีขาวนวลๆ หรือสีครีม เนื้อแป้งจะแข็งๆ หน่อย ทำให้อุ้มยีสต์ได้ดี จึงเหมาะสำหรับการทำขนมปัง พิซซ่า เดนนิสเพสตรี้ ปาท่องโก๋
Tip: ปริมาณโปรตีนในแป้ง หรือที่เรียกว่ากลูเต็น (Gluten) จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ขนมของเรามีความเหนียวและนุ่ม เช่น เราต้องการทำขนมปังซึ่งมีทั้งความนุ่มและความเหนียวสูง เราก็จะใช้แป้งที่มีปริมาณกลูเต็นมากๆ ค่ะ
แป้งขนมปังที่มีขายอยู่ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อด้วยกัน ยี่ห้อยอดนิยมก็เช่น ของ UFM ถุงจะเป็นสีเขียว มีรูปห่าน (หรือหงส์ขาวก็ไม่รู้นะคะ ^^”) อยู่ หลายๆ คนก็เลยเรียกว่าแป้งตราห่าน หรือของบริษัทแหลมทองสหการ จะเป็นแป้งตรายานอวกาศ ยี่ห้ออื่นๆ เช่น แป้งตราใบไม้ หรือถ้าอยู่ต่างประเทศ ก็ดูที่ข้างถุงเขียนว่า “Bread Flour” ค่ะ
2. แป้งอเนกประสงค์
แป้งอเนกประสงค์หรือ All-Purpose Flour มีปริมาณโปรตีนน้อยกว่าแป้งขนมปัง คือมีอยู่ 10.5% – 11% ทำให้ขนมที่ทำจากแป้งชนิดนี้ไม่ถึงกับเหนียวแบบขนมปัง แต่ก็มีความนุ่มเหนียวอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเนื้อละเอียดอย่างกับขนมเค้ก เรียกได้ว่ามีคุณสมบัติอยู่ตรงกลางระหว่างขนมปังกับขนมเค้กแล้วกันค่ะ แป้งชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ทำขนมได้หลากหลาย เช่น พาย โดนัท วอฟเฟิล ปาท่องโก๋ กะหรี่พัฟ โรตี ขนมเปี๊ยะ หรือเส้นบะหมี่ก็ทำจากแป้งอเนกประสงค์นะคะ เวลาจุ๊บทำอาหารอะไรที่มีส่วนผสมที่เขาไม่ได้ระบุว่าต้องใช้แป้งสาลีชนิดไหน จุ๊บก็มักจะใช้แป้งอเนกประสงค์นี่แหล่ะค่ะ (จริงๆ แล้วจะถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ แต่ชื่อเขาบอกอยู่ว่าเป็นแป้งอเนกประสงค์ จุ๊บก็เลยคิดว่าน่าจะทำได้แหล่ะ >< แต่ยังไงก็ต้องดูประเภทอาหารด้วยนะคะ ถ้าทำเค้กอยู่ก็ต้องใช้แป้งเค้กทำนะคะ)
Tip: เค้กบางชนิดที่เราต้องการให้เนื้อเค้กแน่นๆ เช่น ฟรุ๊ตเค้กที่มีเนื้อผลไม้อยู่ในเนื้อเค้กด้วย ก็ใช้แป้งอเนกประสงค์ทำ ไม่อย่างงั้นเนื้อผลไม้จะจมลงไปอยู่ล่างๆ เพราะเนื้อแป้งรับน้ำหนักผลไม้ไม่ไหวค่ะ
แป้งอเนกประสงค์ที่มีในท้องตลาดโดยทั่วไปก็เช่น แป้งตราว่าว ของ UFM แป้งตรากบ ของแหลมทอง ตราหัวกวาง ตราต้นสน เป็นต้น
3. แป้งสาลีชนิดพิเศษ
หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าเจ้าแป้งสาลีชนิดพิเศษนี้คืออะไร จากที่จุ๊บไปค้นๆ อ่านๆ มา ทาง UFM เจ้าของโปรดักส์แป้งบัวแดง เขาบอกว่าแป้งสาลีชนิดพิเศษนี้ถูกโม่จากข้าวสาลีที่มีคุณภาพสูงด้วยกรรมวิธีพิเศษ มีโปรตีนต่ำและความเหนียวน้อย เพื่อให้เหมาะสำหรับซาลาเปา สปันจ์เค้ก แยมโรล ฯลฯ (อ้าว ปกติจุ๊บทำสปันจ์จะใช้แป้งเค้ก 555 //ก็ไม่รู้สินะ) //แล้วสรุปว่ามันพิเศษตรงไหน //ก็ยังไม่รู้เหมือนกัน >< เนื้อแป้งของแป้งสาลีชนิดพิเศษนี้จะมีสีขาวจัดเนื่องจากผ่านการฟอกสีแล้ว และยังมีปริมาณโปรตีนต่ำ คือมีอยู่แค่ 8% - 8.5% ทำให้ขนมที่ทำจากแป้งชนิดนี้มีความเหนียวน้อย เช่น ซาลาเปา ปุยฝ้าย คุกกี้ ขนมไข่ เอแคลร์ สาลี่ บิสกิต แยมโรล ฯลฯ
แป้งสาลีชนิดพิเศษที่ขายในท้องตลาดก็เช่น แป้งบัวแดง ของ UFM แป้งบัวหิมะ ของแหลมทอง แป้งตรากิเลนเหลือง ฯลฯ
4. แป้งเค้ก
แป้งเค้กที่เราเรียกกันติดปากนี่ก็เป็นแป้งสาลีเช่นเดียวกันค่ะ แป้งเค้กนี้มีปริมาณโปรตีนเท่าๆ กับแป้งสาลีชนิดพิเศษเลยค่ะ คือมีอยู่ประมาณ 8% – 8.3% แป้งเค้กจะมีสีขาวจัด เนื้อแป้งจะละเอียด ดูดซึมน้ำได้ดี เหมาะกับการทำขนมที่มีน้ำตาลในสูตรสูงหรือใช้ไข่ในปริมาณมาก เช่น บัตเตอร์เค้ก ชิฟฟ่อน สปันจ์
แป้งเค้กที่มีขายในท้องตลาด ยอดฮิตเลยก็คือแป้งพัดโบก จากค่าย UFM (แอบนินทานิดนืง เมื่อก่อนแป้งค่าย UFM นี่ไม่เห็นวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่างพวกโลตัสหรือบิ๊กซีเลย เวลาจะซื้อต้องไปตามร้านขายวัตถุดิบเบเกอรี่ แต่เดี๋ยวนี้เห็นมีมาวางขายแล้ว ก็ดีสำหรับคนที่ไม่มีร้านขายวัตถุดิบเบเกอรี่อยู่แถวบ้านเนอะ ถึงราคาจะสูงกว่าที่ขายตามร้านทั่วไปอยู่นิดนึงแต่คนก็หาซื้อได้ง่ายขึ้นแหล่ะ เพราะส่วนใหญ่ในสูตรทำขนมก็เขียนกันแต่แป้งพัดโบก แป้งบัวแดง ตอนจุ๊บไปหาตอนแรกๆ ไม่มีก็เลยไม่ซื้อ โดยที่ไม่รู้เลยว่าแป้งแบบเดียวกันแต่ยี่ห้ออื่นก็มีวางอยู่ตรงหน้านี่แหล่ะ ^^”) อ้อ แป้งเค้กยี่ห้ออื่นๆ ก็มีนะคะ เช่น แป้งตราริบบิ้น ตรากิเลนแดง ตรากุหลาบ ตราจิงโจ้ ฯลฯ
Tip: จุ๊บแอบไปอ่านเจอที่ไหนมาก็ไม่รู้ (แหะๆ จดใส่สมุดไว้นานแล้วจนลืม) ว่าถ้าเกิด accident แป้งพัดโบกหมด เราจะใช้แป้งบัวแดงมาทำเค้กก็ได้เพราะปริมาณโปรตีนของแป้งพัดโบกกับแป้งบัวแดงก็พอๆ กัน แต่ที่ควรใช้แป้งพัดโบกมากกว่าเป็นเพราะแป้งพัดโบกเป็นแป้งที่มีการปรับสภาพความเป็นกรดให้เหมาะกับการทำขนมเค้ก (เรียกว่ากระบวนการคลอริเนชั่น) พอใช้ทำเค้กที่มีส่วนผสมที่เป็นน้ำตาลและไขมันสูงจะได้เค้กที่ไม่ยุบง่าย แต่ถ้าใช้แป้งแป้งบัวแดงมาทำเค้ก พออบเสร็จแล้วเค้กที่ได้อาจจะยุบด้านบน (พัดโบกทำเค้ก บัวแดงทำคุกกี้ ท่องไว้ๆ) จุ๊บเคยทำมาม่อนโดยใช้แป้งพัดโบก แต่อบออกมาแล้วรู้สึกว่าเนื้อเค้กมันไม่ใช่ยังไงก็ไม่รู้ จนครั้งหลังสุดอยู่ๆ ก็ใช้แป้งบัวแดงทำ กลับได้ผลออกมาน่าพอใจกว่า หน้าก็ยุบๆ หน่อย ไม่รู้อุปาทานไปเองหรือเปล่า ^^”
นอกจากแป้งสาลีเหล่านี้แล้วยังมีแป้งอีกหลายประเภทเลยนะคะ อย่างค่าย UFM ก็มีผลิตภัณฑ์แป้งสาลีสำหรับทำขนมบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น แป้งพีไอ (PI) สำหรับทำพาย แป้ง 555 สำหรับทำปาท่องโก๋ แต่จริงๆ แล้วแป้งสาลีเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำขนมเท่านั้นนะคะ จริงๆ แล้วยังมีแป้งอีกหลายชนิดเลยที่เราใช้ในการทำขนมกัน ไม่ว่าจะเป็นแป้งข้าวโพด แป้งมัน แป้งข้าวจ้าว ฯลฯ ไว้จุ๊บจะเขียนถึงแป้งเหล่านี้ในโอกาสต่อๆ ไปนะคะ
ขอให้มีความสนุกในการทำขนมค่ะ ^^
...คิดว่าคนที่เพิ่งหัดทำขนมใหม่ๆ คงเกิดอาการนี้กันบ้างใช่ไหมคะ จุ๊บก็เป็นค่ะ แต่ของจุ๊บอาจจะงงน้อยกว่านิ๊ดดดดดนึง เพราะตอนจุ๊บเริ่มทำขนมใหม่ๆ จุ๊บไปเรียนที่ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครก่อนค่ะ ตอนนั้นอาจารย์บอกให้จดสูตรก็บอกมาเลยว่า เอาแป้งพัดโบกนะ แป้งบัวแดงนะ จุ๊บก็ไปซื้อตามนั้น แต่พอเรียนจบ ออกมาทำขนมเอง เปิดสูตรเอง ทีนี้ก็เลยงงของจริงเลยค่ะ ก็ในสูตรเล่นบอกมาเป็นแป้งสาลี พอไปที่ร้าน ร้านถามว่าเอาแป้งชนิดไหน งงค่ะ ตอบไม่ได้ จนร้านต้องถามว่าเอาไปทำอะไรถึงจะได้แป้งที่ต้องการมา พอกลับบ้านมาเลยต้องกลับมาเพิ่มความรู้ซะหน่อย เวลาไปที่ร้านจะได้ดูเหมือนแม่ค้ามืออาชีพ.. เนอะ ^^” ด้วยเหตุนี้ วันนี้จุ๊บก็เลยนำความรู้เกี่ยวกับแป้งสาลีประเภทต่างๆ ที่ใช้ในการทำขนมมาฝากค่ะ :)
แป้งสาลีสำหรับทำเบเกอรี่ต่างๆ จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามปริมาณโปรตีนในตัวแป้งนะคะ ซึ่งได้แก่ แป้งขนมปัง แป้งสาลีอเนกประสงค์ แล้วก็แป้งเค้ก แต่ในที่นี้จุ๊บขอแบ่งแป้งเค้กย่อยออกไปอีก เป็นแป้งสาลีชนิดพิเศษกับแป้งเค้กนะคะ จริงๆ แล้วแป้งสาลีชนิดพิเศษก็เป็นแป้งเค้กนั่นแหล่ะค่ะเพราะมีปริมาณโปรตีนในแป้งเท่ากัน แต่ด้วยคุณสมบัติที่ต่างกันของมันทำให้เรานำไปทำขนมต่างชนิดกันค่ะ
1. แป้งขนมปัง
แป้งขนมปังเป็นแป้งที่มีปริมาณโปรตีนมากที่สุดในบรรดาแป้งที่เรานิยมใช้ทำขนมกัน คือมีโปรตีนอยู่ 13.5% – 14% เนื้อแป้งจะมีสีขาวนวลๆ หรือสีครีม เนื้อแป้งจะแข็งๆ หน่อย ทำให้อุ้มยีสต์ได้ดี จึงเหมาะสำหรับการทำขนมปัง พิซซ่า เดนนิสเพสตรี้ ปาท่องโก๋
Tip: ปริมาณโปรตีนในแป้ง หรือที่เรียกว่ากลูเต็น (Gluten) จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ขนมของเรามีความเหนียวและนุ่ม เช่น เราต้องการทำขนมปังซึ่งมีทั้งความนุ่มและความเหนียวสูง เราก็จะใช้แป้งที่มีปริมาณกลูเต็นมากๆ ค่ะ
แป้งขนมปังที่มีขายอยู่ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อด้วยกัน ยี่ห้อยอดนิยมก็เช่น ของ UFM ถุงจะเป็นสีเขียว มีรูปห่าน (หรือหงส์ขาวก็ไม่รู้นะคะ ^^”) อยู่ หลายๆ คนก็เลยเรียกว่าแป้งตราห่าน หรือของบริษัทแหลมทองสหการ จะเป็นแป้งตรายานอวกาศ ยี่ห้ออื่นๆ เช่น แป้งตราใบไม้ หรือถ้าอยู่ต่างประเทศ ก็ดูที่ข้างถุงเขียนว่า “Bread Flour” ค่ะ
2. แป้งอเนกประสงค์
แป้งอเนกประสงค์หรือ All-Purpose Flour มีปริมาณโปรตีนน้อยกว่าแป้งขนมปัง คือมีอยู่ 10.5% – 11% ทำให้ขนมที่ทำจากแป้งชนิดนี้ไม่ถึงกับเหนียวแบบขนมปัง แต่ก็มีความนุ่มเหนียวอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเนื้อละเอียดอย่างกับขนมเค้ก เรียกได้ว่ามีคุณสมบัติอยู่ตรงกลางระหว่างขนมปังกับขนมเค้กแล้วกันค่ะ แป้งชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ทำขนมได้หลากหลาย เช่น พาย โดนัท วอฟเฟิล ปาท่องโก๋ กะหรี่พัฟ โรตี ขนมเปี๊ยะ หรือเส้นบะหมี่ก็ทำจากแป้งอเนกประสงค์นะคะ เวลาจุ๊บทำอาหารอะไรที่มีส่วนผสมที่เขาไม่ได้ระบุว่าต้องใช้แป้งสาลีชนิดไหน จุ๊บก็มักจะใช้แป้งอเนกประสงค์นี่แหล่ะค่ะ (จริงๆ แล้วจะถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ แต่ชื่อเขาบอกอยู่ว่าเป็นแป้งอเนกประสงค์ จุ๊บก็เลยคิดว่าน่าจะทำได้แหล่ะ >< แต่ยังไงก็ต้องดูประเภทอาหารด้วยนะคะ ถ้าทำเค้กอยู่ก็ต้องใช้แป้งเค้กทำนะคะ)
Tip: เค้กบางชนิดที่เราต้องการให้เนื้อเค้กแน่นๆ เช่น ฟรุ๊ตเค้กที่มีเนื้อผลไม้อยู่ในเนื้อเค้กด้วย ก็ใช้แป้งอเนกประสงค์ทำ ไม่อย่างงั้นเนื้อผลไม้จะจมลงไปอยู่ล่างๆ เพราะเนื้อแป้งรับน้ำหนักผลไม้ไม่ไหวค่ะ
แป้งอเนกประสงค์ที่มีในท้องตลาดโดยทั่วไปก็เช่น แป้งตราว่าว ของ UFM แป้งตรากบ ของแหลมทอง ตราหัวกวาง ตราต้นสน เป็นต้น
3. แป้งสาลีชนิดพิเศษ
หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าเจ้าแป้งสาลีชนิดพิเศษนี้คืออะไร จากที่จุ๊บไปค้นๆ อ่านๆ มา ทาง UFM เจ้าของโปรดักส์แป้งบัวแดง เขาบอกว่าแป้งสาลีชนิดพิเศษนี้ถูกโม่จากข้าวสาลีที่มีคุณภาพสูงด้วยกรรมวิธีพิเศษ มีโปรตีนต่ำและความเหนียวน้อย เพื่อให้เหมาะสำหรับซาลาเปา สปันจ์เค้ก แยมโรล ฯลฯ (อ้าว ปกติจุ๊บทำสปันจ์จะใช้แป้งเค้ก 555 //ก็ไม่รู้สินะ) //แล้วสรุปว่ามันพิเศษตรงไหน //ก็ยังไม่รู้เหมือนกัน >< เนื้อแป้งของแป้งสาลีชนิดพิเศษนี้จะมีสีขาวจัดเนื่องจากผ่านการฟอกสีแล้ว และยังมีปริมาณโปรตีนต่ำ คือมีอยู่แค่ 8% - 8.5% ทำให้ขนมที่ทำจากแป้งชนิดนี้มีความเหนียวน้อย เช่น ซาลาเปา ปุยฝ้าย คุกกี้ ขนมไข่ เอแคลร์ สาลี่ บิสกิต แยมโรล ฯลฯ
แป้งสาลีชนิดพิเศษที่ขายในท้องตลาดก็เช่น แป้งบัวแดง ของ UFM แป้งบัวหิมะ ของแหลมทอง แป้งตรากิเลนเหลือง ฯลฯ
4. แป้งเค้ก
แป้งเค้กที่เราเรียกกันติดปากนี่ก็เป็นแป้งสาลีเช่นเดียวกันค่ะ แป้งเค้กนี้มีปริมาณโปรตีนเท่าๆ กับแป้งสาลีชนิดพิเศษเลยค่ะ คือมีอยู่ประมาณ 8% – 8.3% แป้งเค้กจะมีสีขาวจัด เนื้อแป้งจะละเอียด ดูดซึมน้ำได้ดี เหมาะกับการทำขนมที่มีน้ำตาลในสูตรสูงหรือใช้ไข่ในปริมาณมาก เช่น บัตเตอร์เค้ก ชิฟฟ่อน สปันจ์
แป้งเค้กที่มีขายในท้องตลาด ยอดฮิตเลยก็คือแป้งพัดโบก จากค่าย UFM (แอบนินทานิดนืง เมื่อก่อนแป้งค่าย UFM นี่ไม่เห็นวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่างพวกโลตัสหรือบิ๊กซีเลย เวลาจะซื้อต้องไปตามร้านขายวัตถุดิบเบเกอรี่ แต่เดี๋ยวนี้เห็นมีมาวางขายแล้ว ก็ดีสำหรับคนที่ไม่มีร้านขายวัตถุดิบเบเกอรี่อยู่แถวบ้านเนอะ ถึงราคาจะสูงกว่าที่ขายตามร้านทั่วไปอยู่นิดนึงแต่คนก็หาซื้อได้ง่ายขึ้นแหล่ะ เพราะส่วนใหญ่ในสูตรทำขนมก็เขียนกันแต่แป้งพัดโบก แป้งบัวแดง ตอนจุ๊บไปหาตอนแรกๆ ไม่มีก็เลยไม่ซื้อ โดยที่ไม่รู้เลยว่าแป้งแบบเดียวกันแต่ยี่ห้ออื่นก็มีวางอยู่ตรงหน้านี่แหล่ะ ^^”) อ้อ แป้งเค้กยี่ห้ออื่นๆ ก็มีนะคะ เช่น แป้งตราริบบิ้น ตรากิเลนแดง ตรากุหลาบ ตราจิงโจ้ ฯลฯ
Tip: จุ๊บแอบไปอ่านเจอที่ไหนมาก็ไม่รู้ (แหะๆ จดใส่สมุดไว้นานแล้วจนลืม) ว่าถ้าเกิด accident แป้งพัดโบกหมด เราจะใช้แป้งบัวแดงมาทำเค้กก็ได้เพราะปริมาณโปรตีนของแป้งพัดโบกกับแป้งบัวแดงก็พอๆ กัน แต่ที่ควรใช้แป้งพัดโบกมากกว่าเป็นเพราะแป้งพัดโบกเป็นแป้งที่มีการปรับสภาพความเป็นกรดให้เหมาะกับการทำขนมเค้ก (เรียกว่ากระบวนการคลอริเนชั่น) พอใช้ทำเค้กที่มีส่วนผสมที่เป็นน้ำตาลและไขมันสูงจะได้เค้กที่ไม่ยุบง่าย แต่ถ้าใช้แป้งแป้งบัวแดงมาทำเค้ก พออบเสร็จแล้วเค้กที่ได้อาจจะยุบด้านบน (พัดโบกทำเค้ก บัวแดงทำคุกกี้ ท่องไว้ๆ) จุ๊บเคยทำมาม่อนโดยใช้แป้งพัดโบก แต่อบออกมาแล้วรู้สึกว่าเนื้อเค้กมันไม่ใช่ยังไงก็ไม่รู้ จนครั้งหลังสุดอยู่ๆ ก็ใช้แป้งบัวแดงทำ กลับได้ผลออกมาน่าพอใจกว่า หน้าก็ยุบๆ หน่อย ไม่รู้อุปาทานไปเองหรือเปล่า ^^”
นอกจากแป้งสาลีเหล่านี้แล้วยังมีแป้งอีกหลายประเภทเลยนะคะ อย่างค่าย UFM ก็มีผลิตภัณฑ์แป้งสาลีสำหรับทำขนมบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น แป้งพีไอ (PI) สำหรับทำพาย แป้ง 555 สำหรับทำปาท่องโก๋ แต่จริงๆ แล้วแป้งสาลีเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำขนมเท่านั้นนะคะ จริงๆ แล้วยังมีแป้งอีกหลายชนิดเลยที่เราใช้ในการทำขนมกัน ไม่ว่าจะเป็นแป้งข้าวโพด แป้งมัน แป้งข้าวจ้าว ฯลฯ ไว้จุ๊บจะเขียนถึงแป้งเหล่านี้ในโอกาสต่อๆ ไปนะคะ
ขอให้มีความสนุกในการทำขนมค่ะ ^^
Subscribe to:
Posts (Atom)